ดูเหมือนว่า Toyota จะเริ่มประชาสัมพันธ์คุณงามความดีของชุดโครงสร้างพื้นตัวถังและงานวิศวกรรมร่วม TNGA ว่ามันมีดีอย่างไรบ้างแล้วซึ่ง Toyota เลือกประชาสัมพันธ์
ข้อมูลในช่วงที่ Toyota C-HR
ครอสโอเวอร์รุ่นใหม่ล่าสุดกำลังเปิดตัว
เพราะมันคือรถยนต์ที่ช่วยสร้างคุณค่าใหม่ให้แก่ Toyota ในด้านงานดีไซน์,
งานวิศวกรรมและตัวรถก็เป็นรถที่ตรงกับความต้องการของตลาดไม่น้อย
นับต่อจากนี้ไปค่ายรถที่มีสเกลการผลิตใหญ่ติดอันดับ
1-5 ของโลก น่าจะได้เปรียบกว่าค่ายรถรองลงมา หรือค่ายรถเล็กๆ มาก
เนื่องจากผู้ผลิตรายใหญ่หันมาใช้กลยุทธ์ Modular Platform หรือ
“ชุดโครงสร้างพื้นตัวถังและงานวิศวกรรมร่วม”
ซึ่งเปรียบเสมือนการผลิตรถยนต์แบบ “จิ๊กซอว์ Lego”
ทำให้ผู้ผลิตไม่ต้องออกแบบ
หรือขึ้นแบบการผลิตชิ้นส่วนเล็กชิ้นส่วนน้อยให้เปลืองเวลาและต้นทุน
ยิ่งมีจำนวนรุ่นและจำนวนการผลิตมากเท่าไรก็ยิ่งคุ้มทุนสุดๆ
สำหรับค่าย
Toyota แล้ว แค่ชื่อก็ไม่ต้องบอกเลยว่าเป็นเจ้าพ่ออุตสาหกรรมยานยนต์
ต้นแบบการผลิตที่หลายคนต้องเดินตาม แต่ทว่าวันนี้ Toyota ต้องเดินตามตูด
Volkswagen หรือแม้แต่ Renault-Nissan, Volvo ต้อย ๆ เพราะ Toyota
เพิ่งเปิดตัว ชุดโครงสร้างพื้นตัวถังและงานวิศวกรรมร่วม (Modular Platform)
ตามหลังเพื่อน แต่ Toyota ถือคติมาทีหลังต้องดังกว่า
ชุดโครงสร้างพื้นตัวถังและงานวิศวกรรมร่วมจาก Toyota จะใช้ชื่อว่า TNGA ย่อมาจาก “Toyota New Global Architecture” โครงสร้างพื้นฐานที่สามารถใช้ชิ้นส่วนร่วมกันระหว่างรถคอมแพคท์ไปจนถึงรถขนาดใหญ่
TNGA
มีประโยชน์ต่อการปรับปรุงประสิทธิภาพรถยนต์และเพิ่มความดึงดูดใจในผลิตภัณฑ์มากยิ่งกว่าที่เคยเป็น
ลดการใช้ทรัพยากรในการพัฒนาได้มากถึง 20%
มีการทำงานอย่างใกล้ชิดกับซัพพลายเออร์
นำต้นทุนที่ลดได้มาอัพเกรดเทคโนโลยีให้มีความล้ำหน้ามากขึ้น
และช่วยเติมเต็มความดึงดูดใจให้ผู้บริโภคได้ดีขึ้น
หลักของ TNGA
คือระบบส่งกำลังที่ประกอบไปด้วยเครื่องยนต์ที่สามารถติดตั้งได้ทุกรุ่น
เน้นการปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงาน และเพิ่มความประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิง
มีการสร้างสมดุลเพื่อให้การออกแบบตัวรถสวยงาม และการขับขี่ดีขึ้น
โดยเน้นจุดเด่นสำคัญ คือ จุดศูนย์ถ่วงต่ำ ภายใต้ชิ้นส่วนน้ำหนักเบา
ขนาดกะทัดรัด สามารถพลิกแพลงได้ เครื่องยนต์ถูกปรับปรุงประสิทธิภาพดี
และประหยัดน้ำมันขึ้น 25% และมีพละกำลังดีขึ้น 15%
และด้วยวิธีการคิดใหม่ทำใหม่
ก็ทำให้มีการพัฒนาต่อยอดไปสู่รถยนต์ Hybrid
ที่ช่วยให้มอเตอร์ไฟฟ้าและอินเวอร์เตอร์มีขนาดเล็กลง ทำให้ Toyota
ยังคาดหวังว่ารถ Hybrid จะต้องประหยัดขึ้นกว่าเดิมถึง 15%
โดยพื้นตัวถังจะเน้นการออกแบบให้มีจุดศูนย์ถ่วงต่ำ
ดังนั้นรถรุ่นใหม่ที่สร้างจาก TNGA จะมีสัดส่วนที่ดูเตี้ยลง
มีการบังคับควบคุมที่ตอบสนองดีมากยิ่งขึ้น
ให้ความรู้สึกมั่นคงในการขับขี่ที่สูง พร้อมระบบความปลอดภัยเต็มพิกัด
และประโยชน์ที่สำคัญมากอีกอย่างก็คือ ความปลอดภัย
ที่มีการออกแบบตัวถังรถให้มีความทนทานต่อการบิดตัวสูงกว่าเดิมถึง 30-65%
ด้วยเทคโนโลยี “การเชื่อมจุดต่อตัวถังด้วยเลเซอร์”
โดยในปีนี้
Toyota จะนำ TNGA มาใช้เป็นพื้นฐานตัวถังของรถระดับกลาง
ที่ขับเคลื่อนล้อหน้าในปีนี้ก่อน
และหลังจากนั้นก็จะนำมาใช้กับพื้นฐานตัวถังสำหรับรถขนาดเล็ก
แบบขับเคลื่อนล้อหน้า และพื้นฐานตัวถังขนาดใหญ่
ซึ่งจะเป็นแบบขับเคลื่อนล้อหลัง ต่อไป โดย Toyota
วางแผนจะให้รถยนต์ครึ่งหนึ่งที่ผลิตได้ใช้พื้นฐานเดียวกันภายในปี 2020
นอกจากนั้น
TNGA มีประโยชน์ในการวางแผนการลงทุนเป็นอย่างมาก เพราะ Toyota
ไม่จำเป็นต้องทุ่มเงินมหาศาลในการสร้างโรงงานใหม่โดยไม่จำเป็น
แต่ทำได้แค่เพียงลงทุนปรับสายการผลิตที่มีอยู่เดิม ซึ่งแนวทางนี้ทำให้
Toyota สามารถลดค่าใช้จ่ายในการลงทุน และปรับปรุงเครื่องจักรใหม่
เมื่อต้องทำการผลิตรถรุ่นใหม่ได้ถึง 50% เมื่อเทียบกับปี 2008
อันเนื่องมาจากมีการแชร์ชิ้นส่วนและเครื่องยนต์ข้ามสายพื้นตัวถังได้
รถยนต์รุ่นใหม่ที่สร้างขึ้นบน TNGA
จะมีการออกแบบที่ง่ายขึ้นและมีฟีเจอร์ที่สามารถใช้ได้ในโลกความเป็นจริง
นับต่อจากนี้ไป Modular Platform จะเป็นมิติใหม่แก่โลกยานยนต์
สำหรับค่ายรถขนาดใหญ่อันดับต้นๆของโลก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น